เกร็ดน่ารู้ พิธีซัดน้ำ ประเพณีแต่งงานไทยโบราณ

30 เมษายน 2018, 14:00:11

ต้องยอมรับเลยว่าตั้งแต่ได้ดูละครแนวอิงประวัติศาสตร์อย่างบุพเพสันนิวาสมานั้น เราได้เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยเพิ่มมากขึ้นเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปกครองบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การส่งราชทูตไปประเทศฝรั่งเศส การค้าขายสินค้าในสมัยอยุธยา ได้เรียนรู้คำศัพท์หรือภาษาโบราณ พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้ถึงขนบธรรมประเพณีต่างๆ ในสมัยอยุธยาอีกด้วย เรียกว่าได้เป็นละครที่นอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมแล้ว ยังมีเกร็ดน่ารู้แฝงเอาไว้อีกมากมายให้เราได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วยค่ะ

พิธีซัดน้ำ & โล้สำเภา คืออะไร?

ในบทความนี้ จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับคำว่า “พิธีซัดน้ำ” ซึ่งเป็นพิธีแต่งงานในสมัยโบราณ และในปัจจุบันได้เลือนหายไปตามกาลเวลา นอกจากนี้ยังมีคำว่า “โล้สำเภา” ที่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคำพูดสุดฟินที่พ่อเดชได้พูดกับแม่หญิงการะเกด

หลังจากที่ทั้งสองได้แต่งงานและถูกส่งตัวเข้าหอ โดยพ่อเดชได้ถามแม่หญิงว่า “ออเจ้าโล้สำเภาเป็นหรือไม่” แต่แม่หญิงการะเกดไม่เข้าใจจึงตอบกลับไปว่า “เคยเห็นแต่เรือสำเภา แต่ไม่เคยโล้เจ้าค่ะ” พ่อเดชเลยบอกว่า “เดี๋ยวพี่จะสอนให้นะ” อย่ารอช้า! มาดูความหมายสุดลึกซึ้งของทั้งสองคำนี้กันดีกว่า 


ที่มาของ พิธีซัดน้ำ

พิธีซัดน้ำ เป็นประเพณีแต่งงานในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นต้นแบบในพิธีรดน้ำสังข์ในปัจจุบัน เปรียบเสมือนเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวให้ครองชีวิตรักอย่างมีความสุขและยืดยาว ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร นั่นเอง จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว โดยในพิธีซัดน้ำนั้นผู้ที่จะทำการซัดน้ำให้คู่บ่าวสาวก็คือ พระสงฆ์ และน้ำที่ใช้ก็คือ น้ำมนต์

นอกจากนี้คนโบราณยังเชื่ออีกด้วยว่า พิธีซัดน้ำจัดขึ้นเพื่อให้คู่บ่าวสาวได้ชำระล้างตนเองให้สะอาดก่อนเข้าพิธีแต่งงานในวันรุ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการซัดน้ำจึงเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นพิธีการแต่งงานเท่านั้น ไม่ใช่จัดพิธีแต่งงานในวันเดียวเหมือนกับการรดน้ำสังข์ในปัจจุบัน ซึ่งในเวลาต่อมาพิธีซัดน้ำได้เปลี่ยนมาเป็นพิธีรดน้ำพระพุทธมนต์แทน โดยในช่วงแรกนั้นจะเป็นการรดน้ำที่ศรีษะเพียงอย่างเดียว แต่เพราะด้วยเจ้าสาวแต่งหน้าจัดเต็มด้วยเครื่องสำอางเมื่อโดนน้ำก็ย่อมไหลย้อยเป็นคราบลงมา จนสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการรดน้ำสังข์ที่มือแทนเหมือนในปัจจุบัน

พิธีซัดน้ำ เขาทำกันอย่างไร?

สำหรับพิธีซัดน้ำจะจัดขึ้นในช่วงบ่ายถึงเย็นที่เรือนของคู่บ่าวสาว เมื่อเริ่มพิธีในวันสุกดิบก่อนพิธีแต่งงานเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนั่งเว้นระยะห่างกันเล็กน้อย โดยด้านข้างของทั้งคู่จะเป็นเพื่อนของบ่าวสาวที่นั่งห้อมล้อมอยู่ เมื่อพร้อมกันแล้วพระสงฆ์จะทำการสวดมงคลที่โยงมากจากอ่างน้ำมนต์ให้แก่บ่าวสาวโดยเริ่มสวดมนต์ทำพิธี และเมื่อถึงบทชยันโตอันเป็นบทสวดมนต์มงคลจึงเริ่มตีฆ้องชัยเป็นสัญญาณ ให้ประธานสงฆ์ทำการซัดน้ำ แต่อย่าคิดว่าการซัดน้ำนี้จะเป็นน้ำหยดเล็กๆ เหมือนฝนตกลงมาเบาๆ นะ เพราะพระท่านจะใช้สิ่งที่เรียกว่า “โอ” เครื่องเขินชนิดหนึ่งขนาดพอๆ กับขัน ตักแล้วสาดให้เปียกชุ่มกันทั่วหน้าเหมือนเล่นสงกรานต์กลางงานแต่งเลยทีเดียว

โดยในจังหวะนี้เพื่อนๆ ของทั้งสองฝ่ายจะทำการเบียดหรือเขยิบจนคู่บ่าวสาวได้นั่งชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าน้ำมนต์หมดพอดีก็เอาบาตรที่ใส่น้ำมนต์ไว้ครอบศรีษะของคู่บ่าวสาวคนละครั้ง แต่ถ้าไม่หมดก็ให้ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ตักน้ำมนต์ราดคู่บ่าวสาวเวียนกันไปจนกว่าน้ำมนต์จะหมดแล้วจึงค่อยนำบาตรมาครอบศรีษะ

หลังจากที่พิธีซัดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว คู่บ่าวสาวจะแยกกันไปอยู่คนละห้องเพื่อทำการเปลี่ยนเสื้อผ้า ส่วนผ้าที่เปียกก็จะให้เด็กน้อยแถวนั้นนำไปซักและตากให้เรียบร้อย (ทั้งนี้ยังได้มีการซ่อนเครื่องประดับของมีค่าชิ้นเล็กๆ เอาไว้ในเสื้อผ้า เพื่อเป็นของรางวัลให้แก่เด็กน้อยที่นำผ้าไปซักให้ด้วย) นอกจากประเพณีแต่งงานจะมีพิธีซัดน้ำแล้ว ก็ยังมีอีกพิธีหนึ่งก็คือ พิธีการซ่อนรองเท้าเจ้าบ่าวไว้เรียกค่าไถ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพิธีน่ารักๆ ที่สร้างความสนุกสนานให้กับงานแต่งงานได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

เมื่อพิธีซัดน้ำหรือพิธีแต่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงช่วงของการเข้าหอกันแล้ว แต่เชื่อได้เลยว่าหลายๆ คนต้องสงสัยกันอย่างแน่นอนว่าสิ่งที่พ่อเดชได้พูดกับแม่หญิงการะเกดที่ได้ถามว่า “ออเจ้าเคยโล้สำเภาหรือไม่” แล้วการโล้สำเภาคืออะไร? เป็นอย่างไร? ในบทความต่อไปนะ

ที่มา และภาพจากละคร
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/109391.html

บทความที่คุณอาจสนใจ

เปิดประวัติเชียงตุง!! ยลโฉมเจ้าชายรูปงาม "เจ้าจายหลวง"

เมืองลา มีพรมแดนติดกับเมืองท่าล้อของสิบสองพันนาประเทศจีน ผู้คนจะข้ามไปเมืองจีนต้องผ่านด่านที่นี่ เมืองลาเป็นเขตปกครองพิเศษที่ 4 ของพม่า 5 ปีที่แล้ว มีประชากรราว ๗ หมื่นคน รวม 13 ชนเผ่า ไทลื้อ และอะข่า คือชนส่วนใหญ่ พื้นที่ร้อยละ 80 เป็นภูเขา มี อูชายแดง เป็นประมุขบริหาร

ปัจจัยเกี่ยวกับการนำศพไปป่าช้าหรือเรื่องราว วัสดุสิ่งของเกี่ยวกับผียังมีหม้ออีกอย่างหนึ่งที่ผู้คนล้านนาสมัยก่อนได้ใช้นำหน้าขบวนศพไปสู่ป่าช้า ผู้คนเรียกกันว่า หม้อไฟ ก่อนที่จะนำศพไปป่าช้าผู้คนที่มาร่วมงานกุศลศพจะช่วยกันเตรียมหม้อไฟ โดยการไปซื้อหม้อต่อม(หม้อก้นกลม ปากผาย) มาเตรียมไว้เสร็จแล้วนำลวดมาทำสาแหรกเพื่อวางหม้อไฟผูกสาแหรกติดกับปลายคันไม้สำหรับแบก

นายพลคนสนิทฮิตเลอร์ถูกทหารไทยชกฟันหัก

เชียงตุงในวันนี้ดูไม่แตกต่างไปจากเมืองเชียงใหม่เมื่อราว 70-80 ปีก่อน สภาพบ้านเรือนยังคงสภาพดั้งเดิมไว้ วิถีชีวิตผู้คนยังคงได้รับการอนุรักษ์รักษา แม้ว่าสังคมในเชียงตุงบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไปรับเอาวัฒนธรรมจากตะวันตกเข้ามา สังเกตได้จากมีอาคารบ้านเรือนที่สร้างขึ้นตามแบบสมัยนิยม....

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน